วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556


Posted on 11/08/2011 by thanyawee22
ความหมายของเทคโนโลยีสะอาด
เทคโนโลยีสะอาด เป็นกระบวนการหรือวิธีการที่นำมาใช้พัฒนา เปลี่ยนแปลงปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ วิธีการ กระบวนการ หรือการบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสี่ยงต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยใช้เครื่องมือ เช่น 4 R (Reuse, Repair, Reduce, Recycle) เป็นต้น
4R 
4R เป็นแนวทางหนึ่งที่มีส่วนช่วยมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ 4R ประกอบด้วย
Reuse การใช้ใหม่ หรือใช้ซ้ำ หมายถึง การนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่หลายครั้ง ๆ เช่น เสื้อที่คับและใส่ไม่ได้แล้วนำไปให้น้องใส่ได้ ใช้ถุงกระดาษซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เป็นต้น
Repair การซ่อมแซมใช้ใหม่ หมายถึง การนำวัสดุที่เสียหายมาซ่อมใช้ใหม่ เช่น เสื้อ โต๊ะ เครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นต้น
Reduce การลดการใช้ หมายถึง การลดการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์และทรัพยากร เพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด เช่น การนำถุงผ้าหรือตะกร้า มาใช้ใส่ของแทนถุงพลาสติก เป็นต้น
Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำสิ่งของที่ใช้แล้ว เช่น พลาสติก กระดาษ แก้ว โลหะ เศษอาหาร กลับมาผ่านกระบวนการผลิตหรือแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง


       กระบวนการเทคโนโลยี (Technological Process). คือ  ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต  ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว.
ความสำคัญของกระบวนการทางเทคโนโลยี.
1. เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์. 

2. เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา.

3. เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ. 

 
 
ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนทางเทคโนโลยีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ได้แก่.
1.กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identification the problem,need or preference).

ละเอียด หรือกำหนดขอบเขตการแก้ปัญหา ระบุความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร โดยเขียนเป็นข้อความสั้น ๆให้ได้ใจความชัดเจน.
 2.รวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ(Information). 

     เมื่อกำหนดปัญหาหรือความต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ เก็บรวบรวมข้อมูลและความรู้ทุกด้านที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ ทำได้หลายวิธี เช่น. 

      • รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสารต่างๆ.

      • สำรวจตัวอย่างในท้องตลาด.

      • สัมภาษณ์พูดคุยกับคนอื่น.

      • ระดมสมองหาความคิด.

      • สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต และจากแผ่นซีดีเสริมความรู้ ฯลฯ. 

     ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่การได้วิธีการแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการในหลายแบบ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ซึ่งจะเป็นช่องทางที่สามารถใส่เนื้อหาที่เราต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ และถือว่าเป็นช่องทางของการบูรณาการได้ดีที่สุด.

 3.เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ (Selection of the best possible solution).

    ในขั้นนี้ เป็นการตัดสินใจเลือกแนวคิดที่ดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหา โดยนำข้อมูล และความรู้ที่รวบรวมได้มาประกอบกันจนได้ข้อสรุปว่า จะเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการสนองความต้องการเป็นแบบใด โดยวิธีการที่เลือกอาจยึดแนวที่ว่า เมื่อเลือกแล้วจะทำให้สิ่งนั้นดีขึ้น (Better) สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น(Fasterspeed) ประหยัดขึ้น (Cheaper) รวมทั้งวิธีการเหล่านี้ จะต้องสอดคล้องกับทรัพยากร (Resource) ที่มีอยู่.

 4.ออกแบบและปฏิบัติ (Design and making).

    ขั้นตอนนี้ต้องการให้นักเรียนรู้จักคิดออกแบบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเครื่องใช้เสมอไป อาจเป็นวิธีการก็ได้ และการออกแบบไม่จำเป็นต้องเขียนแบบเสมอไป อาจเป็นแค่ลำดับความคิด หรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอนซึ่งรวมปฏิบัติการลงไปด้วย นั่นคือเมื่อออกแบบแล้วต้องลงมือทำ และลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ออกแบบไว้.

5.ทดสอบ (Testing to see if it works).

    เป็นการนำสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการนั้นทดลองใช้เพื่อทดสอบว่าใช้งานหรือทำงานได้ หรือไม่มีข้อบกพร่องอย่างไร ถ้ายังไม่ได้ก็ไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือ ปรับปรุง แก้ไข.

 6.การปรับปรุง (Modification and improvement).

    หลังจากการทดสอบผลแล้วพบว่า สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้น หรือวิธีการที่คิดขึ้นไม่ทำงานมีข้อบกพร่อง ก็ทำการปรับปรุงแก้ไข โดยอาจเลือกวิธีการใหม่ก็ได้คือย้อนไปขั้นตอนที่ 3.

 7.ประเมินผล (Assessment).

    หลังจากปรับปรุงแก้ไขจนใช้งานได้ดีตามวิธีการที่ออกแบบแล้ว ก็นำมาประเมินผลโดยรวมโดยพิจารณาดังนี้

     • สิ่งประดิษฐ์สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่ระบุไว้ได้หรือไม่.

     • สวยงาม ดึงดูดใจผู้ใช้หรือไม่.

     • แข็งแรงทนทานต่อการใช้งานหรือไม่.

 • ต้นทูนสูงเกินไปหรือไม่.